วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 5

การผลิสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
การผลิตสื่อการสอน e-learningเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศอย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ของ e-learning ในเมืองไทยนั้นยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน มีความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมากระหว่างสถาบันที่มีทรัพยากรและบุคลากรที่พร้อม นอกจากนี้ การพัฒนาบทเรียน e-learning ยังจำกัดอยู่แค่การสร้างบทเรียนง่ายๆ ไม่มีความน่าดึงดูดใจสำหรับผู้เรียน บทเรียน e-learning ที่ดี น่าสนใจมีลูกเล่นต่างๆ ที่ทำให้ผู้เรียนสนุกและได้ความรู้ไปด้วยนั้น มีน้อยมาก และมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย เพราะมักจะได้รับการพัฒนามาจากครู อาจารย์แต่ละท่านที่ต้องการทำของตัวท่านเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันแต่อย่างใดสิ่งที่รัฐบาลพัฒนาได้อย่างง่าย และรวดเร็วที่สุดคือการลงทุนทางด้านอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งรัฐบาลประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง กล่าวคือจำนวนคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความพร้อมของบุคลากรที่จะใช้คอมพิวเตอร์เหล่านั้น โดยปกติ ครู อาจารย์ มักจะถูกคาดหวังให้เป็นผู้ผลิตสื่อการสอน e-learning ด้วยตัวท่านเอง ความพร้อมของครู อาจารย์ในการพัฒนาสื่อการสอน e-learning จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยนี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และ Umea University, Swedenการศึกษาวิจัยนี้ ต้องการศึกษาความพร้อมของครู อาจารย์ในการพัฒนาสื่อการสอน e-learning โดยวัดทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ของครู อาจารย์ว่ามีความพร้อมในด้านใด และด้านใดที่ครู อาจารย์ยังขาดทักษะ ซึ่งจะได้ใช้เป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลในการอบรมครู อาจารย์ในโอกาสต่อไป